หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2557

ปัจจัยที่มีผลให้ปริมาณคอลลาเจนในผิวลดลง

สังขารไม่จีรัง เสื่อมไปตามกาล แต่ใช่ว่าจะไม่สนใจเลย เราพอจะถนอมดูแลได้ ดังนั้นมาดูกันดีกว่าอะไรเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้คอลลาเจนในผิวของเราลดลง และเป็นเหตุแห่งความเสื่อมสภาพของผิว

อายุ
คอลลาเจนชนิดที่ 1 และ ที่ 3 ซึ่งเป็นชนิดที่พบในผิวจะลดลงเมื่ออายุเพิ่มขึ้นโดย ชนิดที่ 1 เริ่มลดลงหลังช่วงอายุ 8 ขวบ ส่วนชนิดที่ 3 เริ่มลดลงตั้งแต่แรกเกิด(Rong, et al., 2008)

กราฟแสดงความหนาแน่นของคอลลาเจนในผิวที่ช่วงวัยต่างๆ

Ortolan, et al., 2013

แสงแดด
ในแสงแดดจะมีรังสียูวีซึ่งถือเป็นตัวร้ายที่สำคัญในการทำลายผิวและถือเป็นสาเหตุที่สำคัญที่ทำให้ผิวเราเสื่อมสภาพ 
ทั้งนี้พบว่าในผิวที่ถูกทำลายด้วยแสงแดดจะมีปริมาณโพรคอลลาเจนชนิดที่ 1 และ 3 ลดลง(Talwar, et al., 1995)  โดยที่รังสียูวีในแสงแดดจะไปยับยั้งกลไกที่เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์โพรคอลลาเจน (Quan, et al., 2004) และยังกระตุ้นการทำงานของกลุ่มเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับการสลายคอลลาเจน(Yin, et al., 2001)




ฮอร์โมนเพศ
ผู้หญิงเมื่อเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน หรือวัยทองซึ่งหมายถึงปริมาณฮอรโมนเพศหญิงลดลงส่งผลให้การสังเคราะห์คอลลาเจนลดลง ปริมาณคอลลาเจนในชั้นผิวก็ลดลง  ทั้งนี้ผู้หญิงวัยทองที่ได้รับฮอรโมนเพศทดแทนจะมีปริมาณคอลลาเจนในผิวสูงกว่าที่ไม่ได้รับ(Castelo, et al., 1992; Brincat, et al., 1983)
ที่มาภาพ http://wisewomenrule.com/the-art-of-menopause/


การสูบบุหรี่
ที่มาภาพ www.richmondinstitute.com
การสูบบุหรี่จะลดอัตราการสังเคราะห์คอลลาเจนชนิดที่ 1 และ 3 ในผิว(Knuutinen, et al., 2002) และเร่งการสลายของคอลลาเจนด้วยการกระตุ้นการทำงานของกลุ่มเอนไซม์ MMP-1(Lahmann, et al., 2001)




โรคบางชนิด
เช่นโรคเบาหวาน
คนที่เป็นเบาหวานจะมีการสังเคราะห์คอลลาเจนน้อยกว่าคนปรกติ(Seibold, et al., 1985) และ คนที่เป็นโรคเบาหวานจะมีการเกิดกระบวนการกลัยเคชั่น(Glycation) ในร่างกายสูงกว่าคนปรกติ ซึ่งกระบวนการนี้จะส่งผลให้คอลลาเจนเสียสภาพ และถูกทำลาย(Dyer, et al., 1993; Gautiari, et al., 2013)
เครื่องวัดผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากกระบวนการกลัยเคชั่นที่ผิวหนัง
ที่มาภาพ http://qatar-weill.cornell.edu/media/reports/2013/glycation.html


การใช้ยาบางชนิด
ภาพผิวที่เกิดจากการใช้ยาประเภทกลูโคคอร์ติคอยด์
ที่มาภาพ http://www.hellenicdermatlas.com/en/viewpicture/1799/
เช่นยากลุ่มกลูโคคอร์ติคอยด์(glucocorticoid)

เป็นยาที่ใช้รักษาอาการอักเสบ กดการทำงานของภูมิคุ้มกัน บรรเทาอาการคันและภูมิแพ้ต่างๆ ฤทธิ์ของยามีความสามารถในการยับยั้งการสังเคราะห์คอลลาเจนได้(Oikarinen, et al., 1998)







นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นที่มีผลกระทบได้แก่
ความเครียด, การรับประทานอาหารไม่ครบหลักโภชนาการ, การผักผ่อนไม่เพียงพอ, การดื่มเครื่องดื่มที่มีอัลกอฮอล์อย่างหนัก และมลภาวะที่เป็นพิษ



ที่มา

  • Rong, Y. H., Zhang, G. A., Wang, C., & Ning, F. G. (2008). Quantification of type I and III collagen content in normal human skin in different age groups].Zhonghua shao shang za zhi= Zhonghua shaoshang zazhi= Chinese journal of burns, 24(1), 51.
  • Ortolan, M. C. A. B., Biondo-Simões, M. D. L. P., Baroni, E. D. R. V., Auersvald, A., Auersvald, L. A., Montemor Netto, M. R., & Biondo-Simões, R. (2013). Influence of aging on the skin quality of white-skinned women: the role of collagen, elastic material density, and vascularization. Revista Brasileira de Cirurgia Plástica, 28(1), 41-48.
  • Talwar, H. S., Griffiths, C. E., Fisher, G. J., Hamilton, T. A., & Voorhees, J. J. (1995). Reduced type I and type III procollagens in photodamaged adult human skin. Journal of Investigative Dermatology, 105(2), 285-290.
  • Quan, T., He, T., Kang, S., Voorhees, J. J., & Fisher, G. J. (2004). Solar ultraviolet irradiation reduces collagen in photoaged human skin by blocking transforming growth factor-β type II receptor/Smad signaling. The American journal of pathology, 165(3), 741-751.
  • Yin, L., Morita, A., & Tsuji, T. (2001). Skin aging induced by ultraviolet exposure and tobacco smoking: evidence from epidemiological and molecular studies.Photodermatology, photoimmunology & photomedicine, 17(4), 178-183.
  • Brincat, M., Moniz, C. F., Studd, J. W., Darby, A. J., Magos, A., & Cooper, D. (1983). Sex hormones and skin collagen content in postmenopausal women.British medical journal (Clinical research ed.), 287(6402), 1337.
  • Castelo-Branco, C., Duran, M., & Gonzalez-Merlo, J. (1992). Skin collagen changes related to age and hormone replacement therapy. Maturitas, 15(2), 113-119.
  • Knuutinen, A., Kokkonen, N., Risteli, J., Vähäkangas, K., Kallioinen, M., Salo, T., ... & Oikarinen, A. (2002). Smoking affects collagen synthesis and extracellular matrix turnover in human skin. British Journal of Dermatology,146(4), 588-594.
  • Lahmann, C., Bergemann, J., Harrison, G., & Young, A. R. (2001). Matrix metalloproteinase-1 and skin ageing in smokers. The Lancet, 357(9260), 935-936.
  • Seibold, J. R., Uitto, J., Dorwart, B. B., & Prockop, D. J. (1985). Collagen synthesis and collagenase activity in dermal fibroblasts from patients with diabetes and digital sclerosis. The Journal of laboratory and clinical medicine,105(6), 664.
  • Dyer, D. G., Dunn, J. A., Thorpe, S. R., Bailie, K. E., Lyons, T. J., McCance, D. R., & Baynes, J. W. (1993). Accumulation of Maillard reaction products in skin collagen in diabetes and aging. Journal of Clinical Investigation, 91(6), 2463.
  • Gautieri, A., Redaelli, A., Buehler, M. J., & Vesentini, S. (2013). Age-and diabetes-related nonenzymatic crosslinks in collagen fibrils: Candidate amino acids involved in Advanced Glycation End-products. Matrix Biology.
  • Oikarinen, A., Haapasaari, K. M., Sutinen, M., & Tasanen, K. (1998). The molecular basis of glucocorticoid-induced skin atrophy: topical glucocorticoid apparently decreases both collagen synthesis and the corresponding collagen mRNA level in human skin in vivo. British Journal of Dermatology, 139, 1106-1110