ไฟโตเอสโตรเจน (Phytoestrogen)
ไฟโตเอสโตรเจน
คือสารที่มีโครงสร้างทางเคมีคล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจนซึ่งเป็นฮอร์โมนของเพศหญิง
โดยลักษณะโครงสร้างที่คล้ายกันจึงทำให้สามารถเข้าจับกับตัวรับเอสโตรเจน(ERa และ ERb)ในเซลล์ต่างๆของร่างกายเรา และแสดงคุณสมบัติของฮอร์โมนเอสโตรเจนได้แต่มีฤทธิ์อ่อนแค่ประมาณ
1/10000 ถึง 1/100 เท่าของฮอร์โมนเอสโตรเจน(17 β estradiol)ในร่างกาย1
ไฟโตเอสโตรเจนที่พบในพืชจะถูกแบ่งออกเป็น 3
กลุ่มใหญ่คือ
กลุ่ม
|
สารตั้งต้น
|
ไฟโตเอสโตรเจน
|
พืชที่พบมาก
|
ไอโซฟลาโวน(Isoflavone)
|
ไบโอคานิน
(Biochanin
A)
|
เจนิสตีน(Genistein)
|
ถั่วเหลือง(ประมาณ
0.27%)
|
ฟอร์โมโนนีทิน(Formononetin)
|
ดาอิดเซอีน(Daidzein)
|
||
ลิกแนน(Lignan)
|
มาไทเรซินอล(Matairesinol)
|
เอนเทอโรแลกโตน(Enterolactone)
|
พืชที่มีลิกนินมาก
ได้แก่ เมล็ดแฟลกซ์(ประมาณ 0.37%)
|
ซีโคไอโซลาริซิเรซินอล
(Secoisolariciresinol)
|
เอนเทอโรไดออล(Enterodiol)
|
||
คูมิสแตน(Coumestan)
|
คูเมสตรอล
(Coumestrol)
|
ถั่ว(เหลือง)งอก, โคลเวอร์ และอัลฟาฟ่า
|
แบคทีเรียในลำไส้ของมนุษย์จะเปลี่ยนสารตั้งต้นที่พบในพืชให้กลายเป็นไฟโตเอสโตรเจน
และเมตาบอไลท์ของมัน จากนั้นจะถูกดูดซึมกลับเข้าสู่กระแสเลือด
และมีการขับออกบางส่วนทางปัสสาวะ
ดังนั้นเราจึงสามารถพบไฟโตเอสโตรเจน และเมตาบอไลท์ของมันได้ในเลือด
และปัสสาวะ2
มีการศึกษาที่พบว่าการรับประทานพืชที่มีสารตั้งต้นของไฟโตเอสโตรเจนจะส่งผลให้ในเลือด
และปัสสาวะมีระดับไฟโตเอสโตรเจนเพิ่มขึ้น
ด้วยเหตุนี้จึงมีการนำสารสกัดจากพืชเหล่านี้มาใช้ทดแทนฮอร์โมนสังเคราะห์ในการรักษาอาการของผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน2
ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนกับอายุ
ผู้หญิงจะเริ่มมีการผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนเมื่อเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์(Puberty) และจะผลิตลดลงเมื่อมีอายุมากกว่า
30 ปีขึ้นไปโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเข้าสู่ช่วงอายุก่อนหมดประจำเดือนประมาณ 40
ปีขึ้นไป จะมีการลดลงของระดับฮอร์โมนอย่างรวดเร็ว และเมื่อเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน(มากกว่า
45 ปีขึ้นไป)จะมีระดับฮอร์โมนน้อยมาก3,4
ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนในเลือดโดยปรกติจะพบในปริมาณ
30-400 pg/ml(110-1480 pmol/L) แต่ผู้หญิงในช่วงวัยหมดประจำเดือนจะมีปริมาณ 0-30 pg/ml(0-110 pmol/L)5
เมื่อผู้หญิงฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลงจะเกิดอะไรขึ้น
ผิวพรรณเหี่ยวย่น
การลดลงของฮอร์โมนเอสโตรเจนจะส่งผลให้เรามีผิวที่แห้งกร้าน
ดูหยาบ และมีริ้วรอยมากขึ้น6
โรคหัวใจ
ประสิทธิภาพการทำงานของเยื้อบุผนังหลอดเลือดลดลง
หรือ ผนังหลอดเลือดเสื่อมสภาพ7
ระดับไขมันในเลือดสูง
และระดับคอลเรสเตอรอลชนิดดี (HDL) ลดลงในขณะที่คอลเลสเตอรอลชนิดเลว (LDL) เพิ่มขึ้น
นอกจากนี้ยังพบว่ามีความดันโลหิตเพิ่มขึ้นด้วย8
ภาวะเมตาบอลิก
มีระดับไขมัน,
คอลเลสเตอรอล และน้ำตาลในเลือดสูง มีการสะสมของไขมันรอบเอว หรือที่เรียกว่า “อ้วนลงพุง”
9 จึงทำให้มีความเสี่ยงในการเกิดภาวะเมตาบอลิกสูงขึ้น10
กระดูกพรุน
ฮอร์โมนเอสโตรเจนเป็นฮอร์โมนที่มีบทบาทในการสร้างกระดูกใหม่ เมื่อระดับฮอร์โมนลดลงจึงทำให้การสร้างกระดูกใหม่ไม่เพียงพอและส่งผลให้ความแข็งแรงของกระดูกลดลง11 จึงเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคกระดุกพรุน12
ความจำเสื่อม
ฮอร์โมนเอสโตรเจนมีอิทธิพลต่อการทำงานของระบบประสาทซึ่งเกี่ยวข้องกับความจำ
และระบบการทำงานต่างๆของสมอง13 การลดลงของฮอร์โมนเอสโตรเจนจึงมีส่วนให้ประสิทธิภาพการทำงานของสมองลดลง14
ดังเช่นในผู้หญิงที่มีเหตุให้เข้าสู่ภาวะหมดประจำเดือนก่อนวัยอันควร
เช่นการผ่าตัดรังไข่ออกในช่วงอายุยังน้อย จะเพิ่มความเสี่ยงในการลดลงของสมรรถนะของการรู้คิดตอนเข้าสู่วัยชรามากกว่าผู้หญิงที่เข้าสูภาวะหมดประจำเดือนแบบปรกติ15
อาการวัยทอง
ผู้หญิงเมื่อฮอร์โมนลดลงจนถึงระดับหนึ่งจะเข้าสู่ภาวะใกล้หมดประจำเดือน
และจะลดลงอีกจนเข้าสู่ภาวะหมดประจำเดือนในที่สุด
ซึ่งภาวะเหล่านี้จะก่อให้เกิดอาการที่ไม่สบายตัวที่เรียกว่าอาการวัยทองซึ่งได้แก่
ร้อนวูบวาบ, เหงื่อออกมากตอนนอน, ช่องคลอดแห้งฝ่อ, นอนหลับยาก, ปวดเมื่อยตามตัว,
อารมณ์แปรปรวน, มีอาการซึมเศร้า และหมดความต้องการทางเพศ16
คุณภาพชีวิตแย่
ผู้หญิงเมื่อเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนจะมีสุขภาพที่แย่ลงทั้งทางร่างกาย
และจิตใจด้วยเหตุนี้จึงส่งผลให้มีความสุขในการดำเนินชีวิตลดลง17
การลดลงของฮอร์โมนเอสโตรเจนนั้นจะส่งผลต่อผู้หญิงทั้งภายนอก
และภายใน โดยภายนอกจะทำให้เรา “ดูแก่” ซึ่งว่าแย่แล้ว แต่มีที่แย่กว่าคือเพิ่มความเสี่ยงในการก่อ “โรคร้าย
และภาวะเสื่อมโทรม” ต่างๆภายในร่างกาย จึงไม่แปลกที่จะมีการพยายามใช้ฮอร์โมนทดแทนในผู้หญิงที่มีระดับฮอร์โมนลดลง
เช่น ผู้หญิงที่มีอายุอยู่ในช่วงวัยก่อนและหลังหมดประจำเดือน
หรือผู้หญิงที่มีปัญหาสุขภาพทำให้มีระดับฮอร์โมนต่ำกว่าปรกติ
การให้ฮอร์โมนทดแทน (Hormone
replacement therapy)
เป็นการให้ฮอร์โมนโดยตรงแก่ผู้หญิงที่อยู่ในภาวะที่ไม่อาจสร้างฮอร์โมนเพศได้ตามปรกติ
ซึ่งฮอร์โมนที่ให้มีทั้งชนิดสกัดจากธรรมชาติ และสังเคราะห์ วิธีการให้มีทั้งให้โดยการรับประทาน,
การนำส่งยาผ่านทางผิวหนัง(transdermal patches) และการฉีดพ่นทางจมูก (intranasal method)
การใช้ฮอร์โมนทดแทนในทางการแพทย์มีทั้งผลดี
และผลเสีย โดยผลดีคือบรรเทาอาการวัยทอง และภาวะกระดูกพรุนได้ แต่ผลเสียคือมีผลข้างเคียง
เช่น มีเลือดออกที่โพรงมดลูก เจ็บเต้านม และบวมน้ำเป็นต้น และยังเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคต่างๆ
เช่น มะเร็งเต้านม, หลอดเลือดตีบ, หัวใจวาย, เลือดเป็นลิ่ม และหลอดเลือดขอดเป็นต้น18,19,20
ไฟโตเอสโตรเจนจากอาหารในธรรมชาติน่าจะเป็นทางเลือกที่ปลอดภัยกว่า
ไฟโตเอสโตรเจนมีคุณสมบัติทั้งกระตุ้น
และยับยั้งคุณสมบัติของฮอร์โมนเอสโตรเจน21 เนื่องจากการที่มันมีโครงสร้างคล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจนมันจึงแสดงทั้งคุณสมบัติของฮอร์โมน
และยับยั้งฮอร์โมนโดยเข้าไปแย่งจับกับตัวรับในเซลล์
ไฟโตเอสโตรเจนจะแสดงคุณสมบัติของฮอร์โมนอย่างอ่อนๆ
และมีความสมดุลตามสภาพของร่างกาย
เนื่องจากไฟโตเอสโตรเจนที่พบในพืชจะอยู่ในรูปของสารตั้งต้นเมื่อเรารับประทานเข้าไปจึงค่อยเปลี่ยนเป็นสารคล้ายฮอร์โมนและจะดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดตามความต้องการของร่างกาย
และขับส่วนที่เหลือใช้ออกทางปัสสาวะ
เอสโตรเจนเป็นฮอร์โมนที่มีความข้องเกี่ยวกับการเกิดมะเร็งเต้านม
ดังนั้นด้วยคุณสมบัติในการยับยั้งฮอร์โมนเอสโตรเจนของไฟโตเอสโตรเจนจึงเป็นประโยชน์ในการป้องกันการเกิดมะเร็งชนิดนี้ได้1
ถึงแม้ว่าไฟโตเอสโตรเจนจะมีฤทธิ์อ่อนกว่าฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ผลิตในร่างกายตามปรกติ แต่ก็มีฤทธิ์มากกว่า100-1000
เท่าในระดับฮอร์โมนของผู้หญิงที่มีปัญหาเรื่องการผลิตฮอร์โมนเช่นสตรีวัยทอง1
การได้รับไฟโตเอสโตรเจนจากอาหารจึงเป็นการได้รับไฟโตเอสโตรเจนในปริมาณต่ำๆ
ซึ่งอาจจะช่วยบรรเทาอาการวัยทองได้
และค่อนข้างมีความปลอดภัยกว่าการได้รับฮอร์โมนโดยตรง
ที่มา
- Duffy, C., Perez, K., & Partridge, A. (2007). Implications of phytoestrogen intake for breast cancer. CA: a cancer journal for clinicians, 57(5), 260-277.
- Bhathena, S. J., & Velasquez, M. T. (2002). Beneficial role of dietary phytoestrogens in obesity and diabetes. The American journal of clinical nutrition, 76(6), 1191-1201.
- Lamberts, S. W., Van den Beld, A. W., & van der Lely, A. J. (1997). The endocrinology of aging. Science, 278(5337), 419-424.
- Khosla, S., Melton III, L. J., Atkinson, E. J., O’fallon, W. M., Klee, G. G., & Riggs, B. L. (1998). Relationship of Serum Sex Steroid Levels and Bone Turnover Markers with Bone Mineral Density in Men and Women: A Key Role for Bioavailable Estrogen 1. The Journal of Clinical Endocrinology & Metabolism, 83(7), 2266-2274.
- MedlinePlus. (2013). Estradiol Blood Test (Online). Available: http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/003711.htm [August 20, 2014]
- Hall, G., & Phillips, T. J. (2005). Estrogen and skin: the effects of estrogen, menopause, and hormone replacement therapy on the skin. Journal of the American Academy of Dermatology, 53(4), 555-568.
- Celermajer, D. S., Sorensen, K. E., Spiegelhalter, D. J., Georgakopoulos, D., Robinson, J., & Deanfield, J. E. (1994). Aging is associated with endothelial dysfunction in healthy men years before the age-related decline in women. Journal of the American College of Cardiology, 24(2), 471-476.
- Poehlman, E. T., Toth, M. J., Ades, P. A., & Rosen, C. J. (1997). Menopause‐associated changes in plasma lipids, insulin‐like growth factor I and blood pressure: a longitudinal study. European journal of clinical investigation, 27(4), 322-326.
- Carr, M. C. (2003). The emergence of the metabolic syndrome with menopause.The Journal of Clinical Endocrinology & Metabolism, 88(6), 2404-2411.
- Cho, G. J., Lee, J. H., Park, H. T., Shin, J. H., Hong, S. C., Kim, T., ... & Kim, S. H. (2008). Postmenopausal status according to years since menopause as an independent risk factor for the metabolic syndrome. Menopause, 15(3), 524-529.
- Lerner, U. H. (2006). Bone remodeling in post-menopausal osteoporosis. Journal of Dental Research, 85(7), 584-595.
- Reginster, J. Y., & Burlet, N. (2006). Osteoporosis: a still increasing prevalence.Bone, 38(2), 4-9.
- Sherwin, B. B. (1997). Estrogen effects on cognition in menopausal women.Neurology, 48(5 Suppl 7), 21S-26S.
- Halbreich, U., Lumley, L. A., Palter, S., Manning, C., Gengo, F., & Joe, S. H. (1995). Possible acceleration of age effects on cognition following menopause.Journal of psychiatric research, 29(3), 153-163.
- Ryan, J., Scali, J., Carrière, I., Amieva, H., Rouaud, O., Berr, C., ... & Ancelin, M. L. (2014). Impact of a premature menopause on cognitive function in later life. BJOG: An International Journal of Obstetrics & Gynaecology.
- Dennerstein, L., Dudley, E. C., Hopper, J. L., Guthrie, J. R., & Burger, H. G. (2000). A prospective population-based study of menopausal symptoms.Obstetrics & Gynecology, 96(3), 351-358.
- Blumel, J. E., Castelo-Branco, C., Binfa, L., Gramegna, G., Tacla, X., Aracena, B., ... & Sanjuan, A. (2000). Quality of life after the menopause: a population study.Maturitas, 34(1), 17-23.
- Beral, V., Reeves, G., Bull, D., & Green, J. (2011). Breast cancer risk in relation to the interval between menopause and starting hormone therapy.Journal of the National Cancer Institute.
- Henderson, V. W., & Lobo, R. A. (2012). Hormone therapy and the risk of stroke: perspectives 10 years after the Women's Health Initiative trials.Climacteric, 15(3), 229-234.
- National Heart, Lung and Blood Institute. (2005).Fact About Menopausal Hormone Therapy (Online). Available: http://www.nhlbi.nih.gov/files/docs/pht_facts.pdf [August 21, 2014]
- Mueller, S. O., Simon, S., Chae, K., Metzler, M., & Korach, K. S. (2004). Phytoestrogens and their human metabolites show distinct agonistic and antagonistic properties on estrogen receptor α (ERα) and ERβ in human cells.Toxicological Sciences, 80(1), 14-25.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น