หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2556

การกำจัดสารพิษในร่างกายเรา Detoxification

Xenobiotic

คือสารพิษที่ร่างกายได้รับเข้าไป อันได้แก่สารเคมี , วัตถุเจือปนอาหาร, สารพิษ,สารพิษจากเชื้อโรค, ยากำจัดศัตรูพืช, เหล้า, สารพิษจากมลภาวะ และเมตาบอไลท์ของยารักษาโรค เป็นต้น

การกำจัดสารพิษของร่างกาย

การกำจัดสารพิษที่ปอด
                ปอดรับหน้าที่ในการนำแก๊ส และสารระเหยที่มีความพิษออกจากร่างกายไปกับการหายใจออก ซึ่งแก๊ส และสารระเหยที่เป็นพิษเหล่านี้เกิดจากกระบวนการภายในร่างกาย เช่นกระบวนการกำจัดสารพิษที่ตับ

การป้องกันสารพิษที่ผิวหนัง
                ผิวหนังรับหน้าที่ในการป้องกันการซึมผ่านของสารพิษผ่านผิวหนังโดยจะป้องกันสารพิษที่ละลายในน้ำได้ดีกว่าสารพิษที่ละลายในน้ำมัน(สารพิษที่ละลายในน้ำมันซึมผ่านเข้าสู่ผิวได้ดีกว่า)

การกำจัดสารพิษที่ไต
                ไตมีหน้าที่กรองสารพิษที่อยู่ในเลือดแล้วขับออกทางปัสสาวะ

การกำจัดสารพิษผ่านระบบทางเดินอาหาร
                ระบบทางเดินหารสามารถกำจัดสารพิษบางส่วนออกโดยการกระตุ้นให้มีการอาเจียน หรือ การถ่ายท้อง ซึ่งสารพิษที่ร่างกายสามารถกำจัดได้โดยผ่านระบบนี้มักจะเป็นสารพิษที่เกิดจากการเสื่อมเสียของอาหาร (Food Poisoning)  นอกจากนี้การขับถ่ายอุจจาระเป็นประจำจะช่วยลดการดูดซึมกลับสารพิษในลำไส้ใหญ่เข้าสู่กระแสเลือด

การกำจัดสารพิษผ่านตับ
ตับเป็นอวัยวะหลักในการรับหน้าที่กำจัดสารพิษที่ร่างกายได้รับ โดยเมื่อร่างกายได้รับสารพิษเข้าไปจะมีกระบวนการทางชีวเคมีที่เปลี่ยนสารพิษเหล่านั้นให้อยู่ในรูปสารประกอบที่สามารถละลายน้ำได้ และสารพิษเหล่านั้นจะถูกขับออกทางปัสสาวะ

ส่วนของร่างกายที่เกี่ยวข้องกับการกำจัดสารพิษ
ภาพจาก http://www.mydetoxification.co.uk


ขั้นตอนการกำจัดสารพิษของตับ


การกำจัดสารพิษขั้นตอนที่ 1 (Phase I Detoxification)

เอนไซม์ไซโตโครม P450 เป็นเอนไซม์ที่มีบทบาทสำคัญที่สุดในการกำจัดสารพิษในขั้นตอนนี้  โดยการเติมโมเลกุลออกซิเจนที่มีความไวต่อการเกิดปฏิกิริยา เช่น อนุมูลอิสระไฮดรอกซิล เพื่อการเปลี่ยนโครงสร้างทางเคมีของสารพิษให้มีความไวต่อการเกิดปฏิกิริยามากขึ้น และมีคุณสมบัติในการละลายน้ำมากขึ้น ซึ่งเมตาบอไลท์จากขั้นตอนนี้จะมีความสามารถในการทำลายเซลล์ได้มากกว่าในตอนแรกจึงจำเป็นต้องมีการกำจัดสารพิษในขึ้นตอนที่ 2 ต่อไป

การกำจัดสารพิษขั้นตอนที่ 2 (Phase II Detoxification)

ในขั้นตอนนี้จะมีการเชื่อมต่อโมเลกุลสารพิษจากขั้นตอนที่ 1 กับสารประกอบอื่นๆที่มีคุณสมบัติในการเชื่อมต่อ (Conjugation) เช่น กลูต้าไธโอน โดยมีเอนไซม์กลูต้าไธโอนเอสทรานส์เฟอเรสเป็นตัวเร่ง โมเลกุลสารพิษจะถูกเปลี่ยนไปอยู่ในรูปที่สามารถละลายน้ำได้ และร่างกายสามารถขับออกได้ทางปัสสาวะ

ในระหว่างการกำจัดสารพิษในแต่ละขั้นตอนจะเกิดอนุมูลอิสระออกมาด้วยซึ่งจะถูกกำจัดโดยสารต้านอนุมูลอิสระต่างๆที่อยู่ภายในร่างกาย


แผนภาพแสดงกลไกการกำจัดสารพิษของร่างกาย





เอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการกำจัดสารพิษ
ที่มา Yang et al. BMC Genomics 2011 12(Suppl 3):S2   doi:10.1186/1471-2164-12-S3-S2

1 ความคิดเห็น: