มีการศึกษาที่เพิ่งเผยแพร่ออกมาในปี 2013 ในวารสาร BMC Gastroenterology ซึ่งได้ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการดื่มกาแฟ กับอุบัติการการเกิดมะเร็งตับพบว่า “การบริโภคกาแฟอาจเกี่ยวข้องกับการลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งตับ”
อุบัติการณ์การเกิดมะเร็งตับ
เพศชาย
|
เพศหญิง
|
|
อันดับที่พบโดยทั่วไปในบรรดามะเร็งทั้งหมด
|
อันดับที่ 5
|
อันดับที่ 8
|
อันดับที่เป็นสาเหตุของการตายในบรรดามะเร็งทั้งหมด
|
อันดับที่ 3
|
อันดับที่ 6
|
สาเหตุของการเป็นโรคมะเร็งตับ
สาเหตุหลัก
- การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี และ ซี
- การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์(อย่างหนัก)
สารเหตุอื่นๆ
การสูบบุหรี่, ความอ้วน, และเบาหวาน
ความสัมพันธ์ระหว่างการดื่มกาแฟ กับ อุบัติการณ์การเกิดมะเร็งตับ
จากการเก็บข้อมูลจากงานวิจัยจำนวน 16 งานวิจัย(Case Control 9 งานวิจัย, Cohort Study 7 งานวิจัย) ซึ่งเผยแพร่ตั้งแต่ปี 2000 ถึง 2011 สรุปความสัมพันธ์ได้ดังนี้
รายละเอียดการศึกษา
|
อุบัติการณ์การเกิดโรคมะเร็งตับของผู้ที่ดื่มกาแฟประจำ
|
การศึกษาทั้งหมด
|
50% ของผู้ไม่ดื่ม หรือดื่มน้อย
|
ปัจจัยด้านการออกแบบการศึกษา
|
|
Case Control
|
50%
|
Cohort Study
|
48%
|
ปัจจัยด้านเพศ
|
|
เพศชาย
|
38% ของผู้ไม่ดื่ม หรือดื่มน้อย
|
เพศหญิง
|
60% ของผู้ไม่ดื่ม หรือดื่มน้อย
|
ปัจจัยด้านภูมิภาค
|
|
ชาวเอเชีย
|
45% ของผู้ไม่ดื่ม หรือดื่มน้อย
|
ชาวยุโรป
|
57%
|
ปัจจัยด้านตัวกวน*(Confounder)
|
|
ปรับ(Adjusted)ตัวกวน
|
54%
|
ไม่ปรับ(Unadjusted)ตัวกวน
|
39%
|
* ตัวกวนคือ ข้อมูลประวัติเกี่ยวกับโรคตับ เช่นไวรัสตับอักเสบ และ
โรคตับอื่นๆ
จากการศึกษานี้กล่าวได้ว่าการบริโภคกาแฟอาจเกี่ยวข้องกับการลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งตับ
อย่างไรก็ดีการบริโภคกาแฟมากเกินไปจะทำให้เราได้รับคาเฟอีนในปริมาณมากซึ่งคาเฟอีนมีผลต่อระบบประสาทส่วนกลางทำให้ประสาทตื่นตัว และอาจเป็นสาเหตุของการนอนไม่หลับได้
ที่มาของข้อมูล
Bioscience Technology. (2013). Drinking Coffee Cuts Liver Cancer Risk by 40% (Online). Available: http://www.biosciencetechnology.com/news/2013/10/drinking-coffee-cuts-liver-cancer-risk-40#.UmiX5nC8DXA [2013, October 24]
Sang, L. X., Chang, B., Li, X. H., & Jiang, M. (2013). Consumption of coffee associated with reduced risk of liver cancer: a meta-analysis. BMC gastroenterology, 13(1), 34.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น