เมล็ดฟักทอง (Pumpkin Seed)
ฟักทองเป็นพืชทองถิ่นของประเทศอเมริกา
เมล็ดฟักทองได้ถูกนำมาใช้เป็นอาหารของชาวพื้นเมืองอเมริกา
และเป็นที่นิยมแพร่กระจายไปยังประเทศแถบยุโรปตะวันออก และแถบเมดิเตอเรเนียน
นอกจากนี้ยังมีการนำไปใช้ในการแพทย์แผนโบราณของอินเดีย และบางประเทศในเอเชีย
Photo Cr: blog.fooducate.com |
สารอาหารในเมล็ดฟักทอง
โปรตีนประมาณ 60%,
น้ำมันประมาณ 30% และใยอาหารประมาณ 17% นอกจากนี้ยังมีแร่ธาตุต่างๆในปริมาณสูงได้แก่
โพแทสเซียม และแมกนีเซียมอย่างละประมาณ 0.6%, สังกะสีประมาณ 0.01%, แมงกานีส, คอปเปอร์,
โครเมียม, ซีลีเนียม และโมลิบดีนัม(Glew,
et al., 2006; Alfawaz, 2004)
พฤกษเคมีในเมล็ดฟักทอง
สารอาหารในเมล็ดฟักทองจะมีส่วนประกอบที่เป็นน้ำมันอยู่ประมาณ
11-51%(Stevenson, et al., 2007; Rahman,
et al., 2014) โดยในส่วนประกอบน้ำมันจะมี
- วิตามินอีทั้ง 3 รูป ได้แก่ แอลฟาโทโคฟีรอล (0.0027-0.0075 %ของน้ำมัน), แกมม่าโทโคฟีรอล (0.0075-0.049 %ของน้ำมัน) และเดลต้าโทโคฟีรอล (0.0035-0.111 %ของน้ำมัน) (Stevenson, et al., 2007)
- ไฟโตสเอตรอล ได้แก่ เบต้าไซโตสเตอรอล (β-sitosterol) 0.025% (Ryan, et al., 2007)
- สควอลีน(Squalene) 0.089% (Ryan, et al., 2007)
- สารประกอบฟินอลิก ได้แก่ ไทโรซอล, กรดวานิลลิก, วานิลลิน, ลูทีโอลิน และกรดซิแนพิค(Andjelkovic, et al., 2010)
- นอกจากนี้ยังมีแทนนิน,ฟลาโวนอยด์ และซาโปนิน(Sharma, et al., 2013)
ประโยชนต์ต่อสุขภาพ
- ต้านอนุมูลอิสระ(Xanthopoulou, et al., 2009)
- มีคุณสมบัติเป็นไฟโตเอสโตรเจนซึ่ง
- น้ำมันเมล็ดฟักทองมีคุณสมบัติในการยับยั้งการกระตุ้นให้ต่อมลูกหมากโตของฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนในหนูทดลองซึ่งคุณสมบัตินี้จะเป็นประโยชน์ในการรักษาโรคต่อมลูกหมากโต (Benign prostatic hyperplasia)(Gossell-Williams และ O’connor, 2006)
- ลดระดับไขมัน และคอลเรสเตอรอลในหนูทดลองที่ถูกตัดรังไข่(Gossell-Williams, et al., 2008)
- ลดความดันโลหิต เพิ่มระดับคอลเรสเตอรอลชนิดที่ดี ลดอาการวัยทองในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนที่ได้รับน้ำมันเมล็ดฟักทองเสริม(Gossell-Williams, et al., 2011
- ลดค่าเอนไซม์ตับในหนูที่เป็นเบาหวาน(Makni, et al., 2011)
เอกสารอ้างอิง
Glew, R. H., et al.
"Amino acid, mineral and fatty acid content of pumpkin seeds (Cucurbita
spp) and Cyperus esculentus nuts in the Republic of Niger."Plant foods for human nutrition 61.2
(2006): 49-54.
Alfawaz, Mohammed Al.
"Chemical Composition and Oil Characteristics of Pumpkin (Cucurbita
maxima) Seed Kernels." (2004).
Stevenson, David G., et
al. "Oil and tocopherol content and composition of pumpkin seed oil in 12
cultivars." Journal of
agricultural and food chemistry55.10 (2007): 4005-4013.
Rahman, Matiar.
"CYTOTOXICITY AND PHYTOCHEMICAL STUDIES OF PUMPKIN SEED (CUCURBITA MAXIMA
LINN.) EXTRACT." Journal
of Biomedical and Pharmaceutical Research 3.2
(2014).
Ryan, E., et al.
"Phytosterol, squalene, tocopherol content and fatty acid profile of
selected seeds, grains, and legumes." Plant
Foods for Human Nutrition 62.3
(2007): 85-91.
Andjelkovic, Mirjana, et
al. "Phenolic compounds and some quality parameters of pumpkin seed
oil." European journal of
lipid science and technology 112.2
(2010): 208-217.
Sharma, Ashok, et al.
"Preliminary Phytochemical Evaluation of Seed Extracts of Cucurbita maxima
Duchesne." Journal of
Pharmacognosy and Phytochemistry 2.3
(2013): 62-65.
Xanthopoulou, Marianna N.,
et al. "Antioxidant and lipoxygenase inhibitory activities of pumpkin seed
extracts." Food Research
International 42.5 (2009):
641-646.
Gossell-Williams, M., A.
Davis, and N. O'connor. "Inhibition of testosterone-induced hyperplasia of
the prostate of sprague-dawley rats by pumpkin seed oil." Journal of Medicinal Food 9.2 (2006): 284-286.
Gossell-Williams, M., et
al. "Supplementation with pumpkin seed oil improves plasma lipid profile
and cardiovascular outcomes of female non-ovariectomized and ovariectomized
Sprague-Dawley rats." Phytotherapy
research: PTR 22.7 (2008):
873.
Gossell-Williams, M., et
al. "Improvement in HDL cholesterol in postmenopausal women supplemented
with pumpkin seed oil: pilot study."Climacteric 14.5 (2011): 558-564.
Makni, Mohamed, et al.
"Antidiabetic effect of flax and pumpkin seed mixture powder: effect on
hyperlipidemia and antioxidant status in alloxan diabetic rats."Journal
of Diabetes and Its Complications 25.5
(2011): 339-345.