หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2556

สาระพันวิธีสำหรับแก้ปัญหาผมร่วง

แพทย์ผู้ที่ชำนาญโรคผิวหนังกล่าวไว้ว่า การหลุดร่วงของเส้นผมวันละ 50-100 เส้นถือเป็นเรื่องปรกติ แต่ถ้ามากกว่านั้นคุณอาจประสบปัญหากับโรคผมร่วง(Alopecia)ได้



โดยทั่วไปแล้วสำหรับผู้ที่อายุเกิน 30 ปีมักจะประสบปัญหาผมร่วงมากกว่าปรกติ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางด้านฮอร์โมน, กรรมพันธุ์, ความเครียด, การทำสีผม หรือ การดัดผมบ่อย, มลภาวะ และการรับประทานอาหารที่ไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพ






วันนี้จึงสาี่ระพันวิธีที่ช่วยในการบำรุงเส้นผม และกระตุ้นให้เกิดการสร้างผมใหม่มากขึ้น

น้ำมันมะกอก

น้ำมันมะกอกเป็นน้ำมันที่มีประว้ติการใช้ในการบำรุงเส้นผมมาเป็นศตวรรษ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อนำน้ำมันมะกอกไปอุ่นก่อนใช้ จะทำให้การซึมเข้าสู่เส้นผม และหนังศรีษะได้ดีขึ้น ทำให้ผมมีสุขภาพดี และผมดกหนาขึ้น


น้ำมันมะกอกมีส่วนช่วยเรื่องการสร้างผมโดย
  • ลดการสร้างฮอร์โมน DHT(Dihydrotestosterone) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ยับยั้งกระบวนการสร้างเส้นผมปกติ ทำให้เส้นผมใหม่ที่ขึ้นมาทดแทนเส้นผมเดิมที่ร่วงไป มีขนาดเล็กลงเรื่อย ๆ จนในที่สุดเกิดภาวะ ผมบาง และ ศีรษะล้าน ตามมา
  • บำรุงสุขภาพหนังศรีษะ เนื่องจากในน้ำมันมะกอก(เอกซ์ตร้าเวอร์จิ้น) มีสารต้านอนุมูลอิสระอยู่มากจึงมีส่วนช่วยบำรุงหนังศรีษะ และช่วยป้องกันเส้นผมจากสารเคมีจากผลิตภัณฑ์จัดแต่งผมต่างๆ 
  • เป็นครีมนวดผมโดยธรรมชาติ ทำให้ผมนุ่มและเงางาม
  • ต้านเชื้อรา และแบคทีเรีย ซึ่งเป็นสาเหตุของรังแคซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับการหลุดร่วงของเส้นผม
  • กระตุ้นการหมุนเวียนเลือด การนวดศรีษะด้วยน้ำมันมะกอกจะช่วยกระุตุ้นการหมุนเวียนของเลือดได้ดีขึ้น

วิธีการ

  • การใช้น้ำมันร้อน
    • ผสมน้ำมันมะกอก และน้ำมันละหุ่ง(Caster Oil) อาจเติมกลีบดอกชบาเล็กน้อยเพื่อกลิ่นที่หอมขึ้น ใ้ห้ความร้อนจนน้ำมันค่อนข้างอุ่น
    • ชโลมบนหนังศรีษะ และเส้นผม นวดเป็นเวลาประมาณ 10 นาที จากนั้นห่อด้วยผ้าขนหนูแล้วไปอบไอน้ำ
    • ล้างน้ำออกให้สะอาด
  • การใช้น้ำมันมะกอก และน้ำมันทีทรี (Tea Tree Oil)
    • ผสมน้ำมันมะกอก 3 ช้อนโต๊ะ และน้ำมันทีทรีประมาณ 7-10 หยด ผสมให้เข้ากัน ชโลมให้ทั่วหนังศรีษะ 
    • จากนั้นห่อด้วยผ้าขนหนู หรือหมวกคลุมผม(สำหรับอาบน้ำ) หมักทิ้งไว้ค้างคืน
    • สรและล้างออกในตอนเช้า (วิธีนี้ช่วยเรื่องรังแคได้ดีเยี่ยม)
  • การมาส์กผมด้วยน้ำมันมะกอก
    • ผสมน้ำมันมะกอกครึ่งถ้วย ไข่แดง 1 ฟอง และ น้ำมะนาว 2-3 หยด ให้เข้ากัน อาจหยดลาเวนเดอร์เพิ่มเพื่อกลิ่นที่ดีขึ้น
    • หมักผมเป็นเวลา 15 นาที
    • ล้างและสระออกตามปรกติ
  • การผสมกับน้ำผึ้ง และ อบเชย
    • ให้ความร้อนน้ำมันมะกอก 2 ช้อนโต๊ะ 
    • เติมน้ำัผึง 1 ช้อนโต๊ะ และ อบเชย 1 ช้อนชา
    • ชโลมบนเส้นผม ทิ้งไว้ 15 นาที
    • ล้างและสระออกตามปรกติ
  • การรับประทานน้ำมันมะกอก 
    • การใช้น้ำมันมะกอกในการประกอบอาหารจะนำมาซึ่งสุขภาพร่างกายที่ดี รวมถึงการป้องกันการหลุดร่วงของเส้นผมด้วย นอกจากใช้ในการประกอบอาหารแล้วอาจใช้รับประทานโดยตรง หรือผสมกับน้ำและมะนาวผ่าซีกก็ได้
    • น้ำมันมะกอกจะช่วยเรื่องประสิทธิภาพการย่อยอาหาร ช่วยบำรุงฟันและผมให้แข็งแรง และยังทำให้ผิวคุณกระจ่างใสขึ้นอีกด้วย


ไข่

ไข่ก็เป็นแหล่งของซัลเฟอร์เช่นกัน และยังอุดมไปด้วยโปรตีน และแร่ธาตุต่างๆ เช่น ซีลีเนียม, ไอโอดีน, ฟอสฟอรัส, เหล็ก และสังกะสี ซึ่งมีส่วนช่วยในการสร้างใหม่ของเส้นผม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการใช้ร่วมกับน้ำมันมะกอก

วิธีการ

  • ใช้ไข่ขาวจากไข่ 1 ฟอง และผสมกับน้ำมันมะกอก 1 ช้อนชา 
  • ตีจนขนเหนียว แล้วนำมานวดศรีษะ และเส้นผม
  • ทิ้งไว้ 15-20 นาที แล้ว ล้าง และสระออกด้วยน้ำเย็นธรรมดา

มะขามป้อม

มะขามป้อมอุดมไปด้วยวิตามินซี และสารต้านอนุมูลอิสระ

วิธีการ

  • บดมะขามป้อม และคั้นน้ำออกมา หรือไม่ก็ซื้อผงมะขามป้อมที่ขายตามร้านสมุนไพรทั่วไป
  • ใช้น้ำมะขามป้อม หรือผงมะขามป้อม ผสมกับน้ำมะนาวในสัดส่วนที่เท่ากัน(ประมาณอย่างละ 2 ช้อนชา) ผสมให้เข้ากัน
  • นวดให้ทั่วหนังศรีษะ และปล่อยไว้ให้แห้ง
  • ล้างออกด้วยน้ำอุ่น

หอม และ กระเทียม 

หอม และ กระเทียม อุดมไปด้วยซัลเฟอร์จึงมีส่วนช่วยในการสร้างผมใหม่


วิธีการ

  • สับหอมแดงให้ละเอียด และคั่นน้ำออกมา ชโลมบนศรีษะ และทิ้งไว้ 15 นาที จากนั้นทำการล้างและสระด้วยแชมพู
  • สับกระเทียม 2-3 กลีบ และเติมน้ำมันมะพร้าว จากนั้นนำไปอังไฟให้เดือดประมาณ 2-3 นาที เมื่อเย็นลงจนสัมผัสได้ ให้ชโลมบนศรีษะและทำการนวด  จากนั้นทำความสะอาดตามปรกติ
  • ควรทำอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง

มะพร้าว

มะพร้าวมีคุณสมบัติทั้งกระตุ้นการสร้างผมใหม่ และบำรุงเส้นผม

วิธีการ

  • ขูดมะพร้าวคั้นเอาน้ำออก และผสมน้ำเล็กน้อย ชโลมบริเวณที่รู้สึกว่าผมบาง หมักทิ้งไว้ค้างคืน
  • ล้างออกด้วยน้ำ

เฮนน่า

เฮนน่าเป็นพืชสมุนไพรชนิดหนึ่ง  ลักษณะของต้นเฮนน่าเป็นไม้พุ่มใบเขียว ดอกสีขาวกลิ่นหอม เป็นพืชตระกูลลีทราซี (Lythraceae) หรือตระกูล “เทียน” มีชื่อทางพฤกษศาตร์ว่า Lawsonia inermis มีชื่อแบบไทยๆ หลายชื่อ เช่น เทียนขาว เทียนต้น เทียนกิ่ง เทียนไม้ เทียนย้อม เป็นต้น  ส่วนที่ใช้ คือ ใบเพสลาด (ใบไม่อ่อนหรือไม่แก่จนเกินไป) 
เฮนน่า เป็นที่รู้ัจักในนามยาย้อมผมแบบธรรมชาติ ซึ่งมีคุณสมบัติทำให้เส้นผมแข็งแรง เมื่อมีการผสมร่วมกับน้ำมัีนมัสตาร์ด

วิธีการ

  • ใช้น้ำมันมัสตาร์ดประมาณ 250 มล. ผสมกับใบเฮนน่าที่ล้างแล้ว จากนั้นนำไปอังไฟให้เดือดจนกระทั้งใบเฮนน่าเริ่มไหม้ 
  • กรองน้ำมันด้วยผ้ามัสลิน(ผ้าแพรบาง)
  • ทำให้เย็น และเก็บน้ำมันไว้ในภาชนะที่ปิดสนิท เพื่อเก็บไว้นวดผมตามปรกติ


ชบา(Hibiscus)

น้ำมันมะพร้าว และดอกชบา เป็นสูตรลับของการมีผมดกดำของชาวเคอราล่า ประเทศอินเดีย ซึ่งดอกชบามีคุณสมบัติในการฟื้นฟู(rejuvenating) โดยการบำรุงเส้นผม และป้องกันผมหงอกก่อนวัยอันควร และยังช่วยขจัดรังแคได้

วิธีการ

  • สับดอกชบา 2-3 ดอก และผสมกับน้ำมันงา หรือ น้ำมันมะพร้าว โดยผสมให้เข้ากันจนมีลักษณะเป็นเนื้อละเีอียด
  • ชโลมบนหนังศรีษะ และเส้นผม ทิ้งไว้ 2-3 ชั่วโมง
  • ล้าง และสระออกด้วยน้ำเย็นธรรมดา


เคล็ดลับอื่นๆ

  • การรับประทานอาหารจำพวกถั่วอัลมอนด์, อาหารทะเล และโยเกริต์ จะช่วยให้สุขภาพผมดีขึ้น
  • ทำร่างกายให้ผ่อนคลายและไม่เครียด
  • เมื่อออกแดดพยายามหาอะไรมาป้องกันเส้นผมจากแสงแดด เช่นหมวก หรือ ผ้าคลุม แต่อย่าใส่ให้แน่นจนเกินไปซึ่งจะไม่เป็นการดีต่อหนังศรีษะ
  • เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับเส้นผมที่มาจากธรรมชาติ และพยายามอย่าใช้เยอะจนเกินไป รวมถึงพยายามหลีกเลี่ยงการทำสี การยืด การดัด และการไดร์ที่จะทำร้ายเส้นผม

ที่มา


© RIA Novosti. Sergei Yelkin

วันศุกร์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2556

อาหารที่เกิดมาเป็นเนื้อคู่กัน

อาหารบางชนิดเมื่อรับประทานคู่กันนอกจากจะช่วยในเรื่องรสชาติแล้ว ยังช่วยในเรื่องประโยชน์่ต่อสุขภาพเพิ่มขึ้นด้วย เปรียบเสมือนคู่สร้างคู่สมที่อยู่ด้วยกันแล้วเจริญรุ่งเรื่องยิ่งขึ้น มาดูกันดีกว่าว่ามีคู่ไหนบ้าง

มะเขือเทศ และ น้ำมันมะกอก


มะเขือเทศ เป็นผักที่มีสีแดงสดเนื่องจากมันมีแคโรทีนอยด์ที่มีชื่อว่า ไลโคพีน(Lycopene) อยู่มาก ไลโคพีนมีคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระโดยมีการศึกษาที่สันนิฐานได้ว่าการได้รับไลโคพีนอาจช่วยลดความเสียงในการเกิดโรคมะเร็ง(บางชนิด) และโรคหัวใจ 

ทั้งนี้มีการศึกษาการรับประทานร่วมกันระหว่างมะเขือเทศ และน้ำมันมะกอกพบว่า
  • เพิ่มประสิทธิภาพการต้านออกซิเดชั่นในเลือดเพิ่มขึ้น(1)
  • เพิ่มระดับไลโคพีนในเลือดมากขึ้นกว่าการรับประทานมะเขือเทศเพียงอย่างเดียว(2)
  • ปรับระดับไขมันในเลือดชนิดต่างๆที่ผลดีต่อโรคหัวใจได้ดีกว่าการรับประทานมะเขือเทศเพียงอย่างเดียว(3)

ขมิ้น และ พริกไทยดำ


ขมิ้นเป็นเครื่องเทศที่มีสีเหลืองเนื่องจากมีสารประกอบฟินอลิกที่มีชื่อว่า เคอร์คูมิน ซึ่งมีคุณสมบัติในการต้านอนุมลูอิสระ และมีประสิทธิภาพในการต้านอักเสบ ซึ่งเป็นประโยชน์ในการต่อสู้กับโรคมะเร็ง โรคเบาหวาน และความจำเสื่อม(Alzheimer)

เคอร์คูมินเป็นสารที่ร่างกายดูดซึมได้ไม่ดี เนื่องจากเคอร์คูมินมีคุณสมบัติที่มีประโยชน์ในการป้องกันและรักษาโรคจึงได้มีการพยายามหาทางเพิ่มการดูดซึมของเคอร์คูมินแล้วพบว่าสารในพริกไทยดำเพิ่มความสามารถในการนำเคอร์คูมินไปใช้ในร่างกายได้ดีขึ้น(4)

ชาเขียว และ มะนาว


ทุกคนทราบดีว่าชาเขียวเป็นเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ เนื่องจากมีสารโพลีฟีนอล ประเภทคาทิชิน(Catechins) ที่มีชื่อว่า อีจีซีจี(EGCG) ซึ่งมีคุณสมบัติในการต้านโรคเรื้อรังต่างๆ แต่สารที่เป็นประโยชน์นี้เมื่อเรารับประทานเข้าไปแล้วจะหลงเหลืออยู่น้อยมากเนื่องจากมีความคงตัวต่ำ ได้มีการศึกษาพบว่าการเติมน้ำผลไม้ตระกลูซิตรัส (เช่น ส้ม และมะนาว) ซึ่งเป็นผลไม้ที่มีปริมาณวิตามินซีอยู่มากช่วยเพิ่มความคงตัวของ คาทิชินที่พบในชาเขียวได้(5)

กระเทียม และปลา


ปลาจัดเป็นอาหารที่มีประโยชน์และดีต่อสุขภาพ น้ำมันจากปลามีคุณสมบัติในการต้านอักเสบ และลดระัดับไตรกลีเซอร์ไรด์ในเลือด แต่อาจจะเพิ่มคลอเรสเตอรอลได้ในบางการศึกษา  กระเทียมมีคุณสมบัติในการลดคลอเรสเตอรอลที่ชัดเจนจึงได้มีการศึกษาการรับประทานน้ำมันปลาร่วมกับกระเทียมพบว่า สามารถลดได้ทั้ง ระดับไตรกลีเซอร์ไรด์ และ คลอเรสเตอรอลชนิดเลว(LDL Cholesterol)  ในขณะที่รับประทานตัวใดตัวหนึ่งเพียงอย่างเดียวไม่ให้ผลดีเท่า(6)

เนื้อสเต็ก และ โรสแมรี่


เนื้อไปนำไปประกอบอาหารที่ผ่านความร้อน เช่น สเต็ก โครงสร้างโปรตีนในเนื้อจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้สาร HCA ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง มีการศึกษาว่าการใส่สารสกัดจากโรสแมรี่ในเนื้อก่อนนำไปทำสเต็กสามารถลดการเกิด HCA ได้(7)

งานวิจัยอ้างอิง

  1. Lee, A., Thurnham, D. I., & Chopra, M. (2000). Consumption of tomato products with olive oil but not sunflower oil increases the antioxidant activity of plasma.Free radical biology & medicine29(10), 1051.(pubmed)
  2. Fielding, J. M., Rowley, K. G., Cooper, P., & O'Dea, K. (2005). Increases in plasma lycopene concentration after consumption of tomatoes cooked with olive oil. Asia Pacific journal of clinical nutrition14(2), 131.(pubmed)
  3. Ahuja, K. D., Pittaway, J. K., & Ball, M. J. (2006). Effects of olive oil and tomato lycopene combination on serum lycopene, lipid profile, and lipid oxidation. Nutrition22(3), 259-265.(Researchgate)
  4. Shoba, G., Joy, D., Joseph, T., Majeed, M., Rajendran, R., & Srinivas, P. S. S. R. (1998). Influence of piperine on the pharmacokinetics of curcumin in animals and human volunteers. Planta medica64(04), 353-356.(Pubmed)
  5. Green, R. J., Murphy, A. S., Schulz, B., Watkins, B. A., & Ferruzzi, M. G. (2007). Common tea formulations modulate in vitro digestive recovery of green tea catechins. Molecular nutrition & food research51(9), 1152-1162.(Researchgate)
  6. Adler, A. J., & Holub, B. J. (1997). Effect of garlic and fish-oil supplementation on serum lipid and lipoprotein concentrations in hypercholesterolemic men. The American journal of clinical nutrition65(2), 445-450.(ajcn)
  7. Puangsombat, K., & Smith, J. S. (2010). Inhibition of heterocyclic amine formation in beef patties by ethanolic extracts of rosemary. Journal of food science75(2), T40-T47.(Pubmed)

แหล่งที่มาของข้อมูล

The 10 healthiest food parings
Foods that work better together | Fox News