มะเขือเทศ และ น้ำมันมะกอก
มะเขือเทศ เป็นผักที่มีสีแดงสดเนื่องจากมันมีแคโรทีนอยด์ที่มีชื่อว่า ไลโคพีน(Lycopene) อยู่มาก ไลโคพีนมีคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระโดยมีการศึกษาที่สันนิฐานได้ว่าการได้รับไลโคพีนอาจช่วยลดความเสียงในการเกิดโรคมะเร็ง(บางชนิด) และโรคหัวใจ
ทั้งนี้มีการศึกษาการรับประทานร่วมกันระหว่างมะเขือเทศ และน้ำมันมะกอกพบว่า
- เพิ่มประสิทธิภาพการต้านออกซิเดชั่นในเลือดเพิ่มขึ้น(1)
- เพิ่มระดับไลโคพีนในเลือดมากขึ้นกว่าการรับประทานมะเขือเทศเพียงอย่างเดียว(2)
- ปรับระดับไขมันในเลือดชนิดต่างๆที่ผลดีต่อโรคหัวใจได้ดีกว่าการรับประทานมะเขือเทศเพียงอย่างเดียว(3)
ขมิ้น และ พริกไทยดำ
ขมิ้นเป็นเครื่องเทศที่มีสีเหลืองเนื่องจากมีสารประกอบฟินอลิกที่มีชื่อว่า เคอร์คูมิน ซึ่งมีคุณสมบัติในการต้านอนุมลูอิสระ และมีประสิทธิภาพในการต้านอักเสบ ซึ่งเป็นประโยชน์ในการต่อสู้กับโรคมะเร็ง โรคเบาหวาน และความจำเสื่อม(Alzheimer)
เคอร์คูมินเป็นสารที่ร่างกายดูดซึมได้ไม่ดี เนื่องจากเคอร์คูมินมีคุณสมบัติที่มีประโยชน์ในการป้องกันและรักษาโรคจึงได้มีการพยายามหาทางเพิ่มการดูดซึมของเคอร์คูมินแล้วพบว่าสารในพริกไทยดำเพิ่มความสามารถในการนำเคอร์คูมินไปใช้ในร่างกายได้ดีขึ้น(4)
เคอร์คูมินเป็นสารที่ร่างกายดูดซึมได้ไม่ดี เนื่องจากเคอร์คูมินมีคุณสมบัติที่มีประโยชน์ในการป้องกันและรักษาโรคจึงได้มีการพยายามหาทางเพิ่มการดูดซึมของเคอร์คูมินแล้วพบว่าสารในพริกไทยดำเพิ่มความสามารถในการนำเคอร์คูมินไปใช้ในร่างกายได้ดีขึ้น(4)
ชาเขียว และ มะนาว
ทุกคนทราบดีว่าชาเขียวเป็นเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ เนื่องจากมีสารโพลีฟีนอล ประเภทคาทิชิน(Catechins) ที่มีชื่อว่า อีจีซีจี(EGCG) ซึ่งมีคุณสมบัติในการต้านโรคเรื้อรังต่างๆ แต่สารที่เป็นประโยชน์นี้เมื่อเรารับประทานเข้าไปแล้วจะหลงเหลืออยู่น้อยมากเนื่องจากมีความคงตัวต่ำ ได้มีการศึกษาพบว่าการเติมน้ำผลไม้ตระกลูซิตรัส (เช่น ส้ม และมะนาว) ซึ่งเป็นผลไม้ที่มีปริมาณวิตามินซีอยู่มากช่วยเพิ่มความคงตัวของ คาทิชินที่พบในชาเขียวได้(5)
กระเทียม และปลา
ปลาจัดเป็นอาหารที่มีประโยชน์และดีต่อสุขภาพ น้ำมันจากปลามีคุณสมบัติในการต้านอักเสบ และลดระัดับไตรกลีเซอร์ไรด์ในเลือด แต่อาจจะเพิ่มคลอเรสเตอรอลได้ในบางการศึกษา กระเทียมมีคุณสมบัติในการลดคลอเรสเตอรอลที่ชัดเจนจึงได้มีการศึกษาการรับประทานน้ำมันปลาร่วมกับกระเทียมพบว่า สามารถลดได้ทั้ง ระดับไตรกลีเซอร์ไรด์ และ คลอเรสเตอรอลชนิดเลว(LDL Cholesterol) ในขณะที่รับประทานตัวใดตัวหนึ่งเพียงอย่างเดียวไม่ให้ผลดีเท่า(6)
เนื้อสเต็ก และ โรสแมรี่
เนื้อไปนำไปประกอบอาหารที่ผ่านความร้อน เช่น สเต็ก โครงสร้างโปรตีนในเนื้อจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้สาร HCA ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง มีการศึกษาว่าการใส่สารสกัดจากโรสแมรี่ในเนื้อก่อนนำไปทำสเต็กสามารถลดการเกิด HCA ได้(7)
งานวิจัยอ้างอิง
- Lee, A., Thurnham, D. I., & Chopra, M. (2000). Consumption of tomato products with olive oil but not sunflower oil increases the antioxidant activity of plasma.Free radical biology & medicine, 29(10), 1051.(pubmed)
- Fielding, J. M., Rowley, K. G., Cooper, P., & O'Dea, K. (2005). Increases in plasma lycopene concentration after consumption of tomatoes cooked with olive oil. Asia Pacific journal of clinical nutrition, 14(2), 131.(pubmed)
- Ahuja, K. D., Pittaway, J. K., & Ball, M. J. (2006). Effects of olive oil and tomato lycopene combination on serum lycopene, lipid profile, and lipid oxidation. Nutrition, 22(3), 259-265.(Researchgate)
- Shoba, G., Joy, D., Joseph, T., Majeed, M., Rajendran, R., & Srinivas, P. S. S. R. (1998). Influence of piperine on the pharmacokinetics of curcumin in animals and human volunteers. Planta medica, 64(04), 353-356.(Pubmed)
- Green, R. J., Murphy, A. S., Schulz, B., Watkins, B. A., & Ferruzzi, M. G. (2007). Common tea formulations modulate in vitro digestive recovery of green tea catechins. Molecular nutrition & food research, 51(9), 1152-1162.(Researchgate)
- Adler, A. J., & Holub, B. J. (1997). Effect of garlic and fish-oil supplementation on serum lipid and lipoprotein concentrations in hypercholesterolemic men. The American journal of clinical nutrition, 65(2), 445-450.(ajcn)
- Puangsombat, K., & Smith, J. S. (2010). Inhibition of heterocyclic amine formation in beef patties by ethanolic extracts of rosemary. Journal of food science, 75(2), T40-T47.(Pubmed)
แหล่งที่มาของข้อมูล
The 10 healthiest food paringsFoods that work better together | Fox News
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น